การให้ยาของโคกำแพงแสน
การให้ยาโคหรือการรักษาโค โดยทั่วไปผู้เลี้ยงมักจะประสบปัญหาเนื่องจากการเจ็บป่วยของโค
โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีสัตวแพทย์อยู่ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาและมีความรู้เรื่องการป้องกันการรักษา
การเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น การทำวัคซีน การถ่ายพยาธิ การกำจัดพยาธิภายนอก เป็นต้น
การให้ยาแก่โค เมื่อโคป่วยหรือเกิดปัญหาขึ้นนั้นมีหลายวิธี แต่เราก็ต้องเลือกให้ยาตามขนาด
อายุ น้ำหนัก ความเหมาะสม คือ
1. ให้ยาทางปาก (Oral adrainestration)
2. ให้ยาโดยการฉีด (Parenteral route)
- ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
- ฉีดเข้ากล้าม
- ฉีดเข้าเส้นเลือด
- ฉีดเข้ากระเพาะ
3. ให้ยาทางอวัยวะเพศ (Vaginal route)
4. ให้ยาภายนอก (Exteral application)
การให้ยาทางปาก คือ การให้โคกินเข้าไปทางปาก อาจเป็นผงละลายน้ำ ผสมในอาหาร เป็นเม็ด เป็น
น้ำก็ได้การให้ยาทางปากอาจทำให้โคสำลักได้ ซึ่งจะต้องระมัดระวัง
- การให้ยาเม็ด โดยใช้เครื่องป้อนยา (balling gun) ควรปฏิบัติดังนี้
1. นำโคเข้าซองบังคับ ใช้เชือกผูก อาจเข้าขลุม หรือใช้คีมจูงจมูก
หรือจับสะพายให้
แน่น
2. ใส่ยาเม็ดที่หัวของเครื่องป้อนยา
3. บังคับโคให้อ้าปาก โดยดึงคีมจูงจมูกให้แหงนหน้าขึ้น
4. สอดเครื่องมือที่ป้อนยาลงไปที่โคนลิ้น ดันยาออกมาเพื่อให้โคกลืนยาเข้าไป
5. ถ้าไม่มีเครื่องป้อนยา ให้เอามือล้วงเข้าไปในปากเพื่อดึงลิ้นออกมา
เอายาเม็ดวางที่
โคนลิ้นให้ลึกที่สุดแล้วหุบปาก สักครู่โคจะกลืนยา ถ้าให้ดีควรจะกรอกน้ำตาม (บาง
คนให้ยาผสมในกล้วยสุกแล้วใส่ปากโคเลยก็ใช้ได้)
- การให้ยาน้ำ โดยการกรอก (drench) อาจนำยาเม็ดมาบด
หรือยาผงมาผสมน้ำเพื่อให้
ละลาย แล้วนำมากรอกให้โค ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “ปืนกรอกยา” (drenching gun) หรืออาจใช้ขวด
น้ำอัดลมก็ได้ มีวิธีการดังนี้
1. ใส่ยาที่เป็นน้ำลงในเครื่องมือ หรือขวด
2. บังคับโคให้อยู่นิ่ง ดึงจมูกให้เงยหน้าขึ้น
2
3. นำปลายเครื่องมือหรือขวดที่เตรียมยาไว้สอดใส่เข้าไปข้างปากโคให้ลึกถึงบริเวณลิ้น
โค และดันหรือเทยาลงไปในทางปากให้ยาไหลผ่านช่องคอเข้าไป
การให้ยาโดยการฉีด (Parentenal route)
การฉีด หมายถึง การให้ยาเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังเข้าไป โดยอาศัยเข็มกับกระบอกฉีดยา
การ
ฉีดยาเป็นวิธีการให้ยาให้ผลอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็แล้วแต่ผู้ฉีดจะต้องมีความชำนาญและมีความ
สะอาด ก่อนใช้กระบอกฉีดยาหรือไซริงค์ และเข็มที่เคยใช้แล้ว จะต้องล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ
โดยการต้มน้ำ
ร้อนประมาณ 10-15 นาที จากนั้นเช็ดด้วยผ้าหรือกระดาษซับให้แห้ง
ระวังอย่าให้มีน้ำอยู่ข้างใน วิธีการ
คือใช้ไซริงค์ดึงเข้าออกเพื่อใส่น้ำออกให้หมด ถ้าใช้เข็มอันเดียวฉีดโคหลายตัว
เข็มก่อนใช้ฉีดตัวต่อไป
จะต้องทำการฆ่าเชื้อทุกครั้ง ขนาดของเข็มที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวโคที่จะฉีดปกตินิยมใช้เบอร์ 18
ยาว ½ - 1½ นิ้ว ไซริงค์ก็ขึ้นอยู่กับยาที่ใช้
ซึ่งมีตั้งแต่ 10 ซีซี ถึง 50 ซีซี เป็นพลาสติกหรือ
แก้วก็ได้
ก่อนฉีดยา ผู้ฉีดจะต้องอ่านสลากของยาให้ละเอียดถึงวิธีการใช้ เช่น ชนิดของสัตว์
อายุ และ
น้ำหนัก และฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง เข้ากล้าม เข้าเส้นเลือด ซึ่งจะต้องดูที่ข้างขวดหรือสลากที่ชอบเขียนเป็น
ภาษาอังกฤษ (ถ้าเป็นภาษาไทยก็ไม่มีปัญหา)
คำย่อ ดังนี้
- ฉีดเข้ากล้าม เขียนว่า IM intramuscular
- ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เขียนว่า SC, IS Subcutaneous
- ฉีดเข้าเส้นเลือด เขียนว่า IV intravenous
- ฉีดเข้าเต้านม เขียนว่า IMM intramammary
- กรัม เขียนว่า grm. Grams
- มิลลิกรัม เขียนว่า mg. Milligrams
- แกลลอน เขียนว่า gal. Gallon
- ชั่วโมง เขียนว่า hrs. hours
- ปอนด์ เขียนว่า Ibs
- มิลลิลิตร เขียนว่า ml. milliliter
- กรัม/นน. ตัวเป็นปอนด์
เขียนว่า mg/lb body wt. Milligrams per
pound of body weight
3
1. นำโคเข้าซองบังคับ
2. ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังโดยยาฆ่าเชื้อเช่น แอลกอฮอล์
3. ถ้าเข็ม ½ นิ้ว ก็แทงเข้าไปจะทะลุผิวหนังพอดี
แล้วทำการเดินยา แต่ถ้าเข็ม 1-1½ นิ้ว
จะต้องใช้มืออีกข้างดึงหนังออกมา แล้วแทงผ่านทะลุหนังเข้าไปแล้วจึงเดินยา (ต้องแน่ใจว่า
ปลายเข็มอยู่ใต้ผิวหนังจริง)
4. ใช้สำลีที่ชุบแอลกอฮอล์หรือมือที่สะอาดคลึงเบาๆ (ระวังอย่าให้ยารั่วไหลออกมา) จะทำให้
ยากระจายได้ดีขึ้น
วิธีการฉีดยาเข้ากล้าม
1. นำโคเข้าซองบังคับ
2. ทำความสะอาดบริเวณที่ฉีดยาให้สะอาดทาด้วยแอลกอฮอล์
3. ให้ยาตามที่กำหนด
4. บริเวณที่ฉีด คือบริเวณแผงคอ และบริเวณกล้ามเนื้อโคขาหลัง
(ส่วนนี้ระวังโดนเตะ)
5. การปักเข็มให้ปักเข็มก่อน จะทำงานได้ง่ายกว่า โดยใช้บริเวณหลังมือตบบริเวณที่จะฉีด
เบาๆ 3-4 ครั้ง จึงปักเข็มทันที
นำไซริงค์ไปสวมเข้ากับหัวเข็ม ดึงลูกสูบเบาๆ ดูว่ามีเลือด
เข้ามาในไซริงค์หรือเปล่า ถ้าไม่มีก็เดินยา ถ้ามีเลือดต้องย้ายตำแหน่ง
วิธีการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
1. นำโคเข้าซองบังคับ
2. จับโคแหงนหน้าขึ้นผูกให้แน่น
3. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์บริเวณเส้นเลือดดำที่คอ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณร่องกล้ามคอกับหลอดอาหาร
ใช้มือกดตรงบริเวณเลือด เส้นจะบวมขึ้นมองเห็นได้ชัด
4. ใช้เข็มเบอร์ 18 ยาว 1½ นิ้ว แทงให้ผ่านผิวหนังก่อนแล้วค่อยๆ สอดผ่านเข้าไปถึงหลอด
เลือด เลือดก็จะไหลพุ่งเข้ามาในไซริงค์ แสดงว่าแทงเข้าเส้นเลือด แต่ถ้าไม่ถูกเส้นเลือด
เลือดจะไม่ไหลเข้าไซริงค์ จะต้องแทงตำแหน่งใหม่ เมื่อถูกเส้นเลือดแล้วก็ค่อยๆ
เดินยา
ระวังอย่าให้มีฟองอากาศหลุดเข้าไปในเส้นเลือดเป็นอันขาด ทำให้ตายได้
วิธีการฉีดยาเข้ากระเพาะ
เป็นการฉีดยาเข้ากระเพาะผ้าขี้ริ้ว (Rumen) ในกรณีที่ใช้ถ่ายพยาธิ หรือเกิดแก๊สในกระเพาะ
(ท้องขึ้น) การฉีดอาจใช้เข็มเบอร์
14 แทงลงไป หรือใช้เหล็กโทรคาร์ (Trocar) แทงด้านท้ายตรงบริเวณ
สวาบ
4
วิธีการให้ยาทางอวัยวะเพศ
คือ การให้ยาทางช่องคลอด
ในกรณีที่ช่องคลอดอักเสบ หรือมดลูกเป็นแผล__
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น