พันธุ์โคเนื้อ-โคพันธุ์กำแพงแสน
วัวพันธุ์กำแพงแสนเป็นวัวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้เกิดความต้านทานโรคและแมลงและเป็นที่นิยมของคนเลี้ยง
วัวพันธุ์กำแพงแสนเป็นวัวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้เกิดความต้านทานโรคและแมลงและเป็นที่นิยมของคนเลี้ยง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพ.ศ.2506 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา และอาจารย์ประเสริฐ เจิมพร ได้สั่งน้ำเชื้อแข็งโคเนื้อพันธุ์เฮอร์ฟอร์ดเข้ามาทดลองผสมกับโคไทยและกับโคไทยเลือดผสมเรดซินดิ ที่สถานีฝึกนิสิตทับกวางปรากฎว่า ลูกครึ่งที่ได้จากการทดลองโตเร็วขึ้นและไม่มีปัญหาในการเลี้ยงดู แต่สีสรรค์ของลูกผสมออกจะเลอะเทอะสักหน่อย ต่อมาในปี 2512 เมื่อมีการย้ายโคจากสถานีทับกวางมากำแพงแสน จึงได้ใช้น้ำเชื้อพันธุ์ชาโรเลส์เพิ่มขึ้นอีกพันธุ์หนึ่ง พบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*ชาโรเลส์ เติบโตดีและเลี้ยงง่ายอีกทั้งสีสรรมีความสม่ำเสมอกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*เฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำการผสมยกระดับเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็น 75% ปรากฏว่าแทนที่จะดีขึ้นกลับพบว่าโคทีมีเลือดเมืองหนาว 75% เลี้ยงยากมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ(ในสภาพปล่อยทุ่ง) ต่อมา ได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโค 3 สายเลือดคือนำพันธุ์บราห์มันเข้ามาร่วมกับโคไทย และชาโรเลส์ ทำให้ได้ลูกผสมที่ได้มีสีสม่ำเสมอ เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในระยะแรกๆ(2525-2530)ทำการผสมเป็น 2 แนวทางคือทำให้มีเลือดโคไทย 25% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 50% เรียกว่า กำแพงแสน 1 และทำให้มีเลือดโคไทย 12.5% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 62.5% เรียกว่า กำแพงแสน 2 แต่ภายหลังพบว่า กำแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่าในสภาพปล่อยทุ่ง จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ เหลือเฉพาะกำแพงแสน1 และเรียกว่าพันธุ์กำแพงแสน ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อจดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ.2534 นับเป็นโคพันธุ์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
เมื่อพ.ศ.2506 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา และอาจารย์ประเสริฐ เจิมพร ได้สั่งน้ำเชื้อแข็งโคเนื้อพันธุ์เฮอร์ฟอร์ดเข้ามาทดลองผสมกับโคไทยและกับโคไทยเลือดผสมเรดซินดิ ที่สถานีฝึกนิสิตทับกวางปรากฎว่า ลูกครึ่งที่ได้จากการทดลองโตเร็วขึ้นและไม่มีปัญหาในการเลี้ยงดู แต่สีสรรค์ของลูกผสมออกจะเลอะเทอะสักหน่อย ต่อมาในปี 2512 เมื่อมีการย้ายโคจากสถานีทับกวางมากำแพงแสน จึงได้ใช้น้ำเชื้อพันธุ์ชาโรเลส์เพิ่มขึ้นอีกพันธุ์หนึ่ง พบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*ชาโรเลส์ เติบโตดีและเลี้ยงง่ายอีกทั้งสีสรรมีความสม่ำเสมอกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*เฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำการผสมยกระดับเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็น 75% ปรากฏว่าแทนที่จะดีขึ้นกลับพบว่าโคทีมีเลือดเมืองหนาว 75% เลี้ยงยากมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ(ในสภาพปล่อยทุ่ง) ต่อมา ได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโค 3 สายเลือดคือนำพันธุ์บราห์มันเข้ามาร่วมกับโคไทย และชาโรเลส์ ทำให้ได้ลูกผสมที่ได้มีสีสม่ำเสมอ เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในระยะแรกๆ(2525-2530)ทำการผสมเป็น 2 แนวทางคือทำให้มีเลือดโคไทย 25% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 50% เรียกว่า กำแพงแสน 1 และทำให้มีเลือดโคไทย 12.5% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 62.5% เรียกว่า กำแพงแสน 2 แต่ภายหลังพบว่า กำแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่าในสภาพปล่อยทุ่ง จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ เหลือเฉพาะกำแพงแสน1 และเรียกว่าพันธุ์กำแพงแสน ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อจดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ.2534 นับเป็นโคพันธุ์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า
“กำแพงแสน” เพราะการตั้งชื่อพันธุ์โคโดยทั่วไป
นิยมใช้ชื่อถิ่นกำเนิดของโคนั้น ๆ
เป็นชื่อพันธุ์ เช่น พันธุ์อเบอร์ดีน-แองกัส เป็นโคที่กำเนิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างเมืองอเบอร์ดีนกับเมืองแองกัส
ในประเทศอังกฤษ พันธุ์ซิมเมนทอลเกิดที่หุบเขาซิมเมน
ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น
ส่วนโคเนื้อพันธุ์แรกที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในประเทศไทย
กำเนิดขึ้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
จึงให้ชื่อว่า “พันธุ์กำแพงแสน”
สาเหตุที่สร้างโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
การสร้างโคพันธุ์ “กำแพงแสน” เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย คุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้ คือความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ทั้ง ๆ ที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นักก็ยังให้ลูกทุกปี แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้ ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก และโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกมีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า โคอินเดีย (บราห์มันและฮินดูบราซิล) มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ การยกระดับเลือดโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว ดังนั้นทางโครงการจึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 % เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดบราห์มันไว้เพียง 25 % เพื่อให้โครงร่างใหญ่ขึ้นโดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ยังไม่เกิดปัญหา แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์ มาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญเติบโต แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนบ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของโคพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 %
การสร้างโคพันธุ์ “กำแพงแสน” เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย คุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้ คือความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ทั้ง ๆ ที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นักก็ยังให้ลูกทุกปี แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้ ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก และโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกมีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า โคอินเดีย (บราห์มันและฮินดูบราซิล) มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ การยกระดับเลือดโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว ดังนั้นทางโครงการจึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 % เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดบราห์มันไว้เพียง 25 % เพื่อให้โครงร่างใหญ่ขึ้นโดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ยังไม่เกิดปัญหา แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์ มาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญเติบโต แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนบ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของโคพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 %
โดยสรุปคือ การสร้างโคพันธุ์
“กำแพงแสน” ก็เพื่อให้ได้พันธุ์โคที่มีคุณสมบัติเป็นโคเนื้อที่ดีครบถ้วนสำหรับเลี้ยงในสภาพทั่วไปของประเทศไทย
โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ (โคพื้นเมือง)
เป็นพันธุ์พื้นฐาน
ในการสร้างและพัฒนาโคพันธุ์ต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้น ในระยะแรก ๆ คุณลักษณะของโคพันธุ์นั้น
ๆ อาจจะยังไม่ดีนัก แต่ได้มีการตั้งคุณลักษณะของโคในอุดมคติที่ต้องการไว้ แล้วพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้โคที่มีคุณลักษณะตรงตามที่ตั้งไว้
โคที่สมาคมจะจดทะเบียนรับรองพันธุ์ให้ก็ต้องมีลักษณะตรงกับลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้
ในการคัดเลือกโคไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์และในการประกวดโคก็จะอิงลักษณะและคุณสมบัติที่ตั้งไว้นี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้เรียกกันตามหลักสากลว่า มาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of
Exellence) สำหรับมาตรฐานความเป็นเลิศของโคพันธุ์กำแพงแสน
ได้มีการกำหนดและปรับปรุงครั้งสุดท้ายในที่ประชุมกรรมการบริหารสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนเมื่อวันที่
20 ตุลาคม 2548 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โคพันธุ์กำแพงแสน
โคพันธุ์เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อโคพื้นเมืองของไทย ที่มีคุณสมบัติที่ดีเลิศในเรื่องความสมบูรณ์ คือ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ได้ลูกทุกปี ทั้งๆที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นัก แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองของไทยไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป้นโคขุนในระบบธุรกิจได้ เพราะมีขนาดลำตัวเล็กและโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมือง โดยนำโคบราห์มันเข้ามาผสมเพื่อให้ได้ลูกโคที่มีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้น แต่มีการทราบกันดีอยู่แล้วว่าโคบราห์มัน มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณพันธุ์ การยกระดับโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดอยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของโคบราห์มันก็ด้อยกว่าดคเมืองหนาว การผสมโคกำแพงแสนจึงมีเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 เปอร์เซนต์เพื่อให้ได้โครงสร้างใหญ่ขึ้นแล้ว จึงมีการคิดนำเอาโคชาโรเลส์เข้ามาช่วยในเรื่องการให้เนื้อและการเจริญเติบโต โดยกำจัดเลือดของพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 เปอร์เซนต์
โคพันธุ์กำแพงแสน
มีเลือดผสมพื้นเมือง 25 เปอร์เซนต์ บราห์มัน 25 เปอร์เซนต ชาโลเลส์ 50 เปอร์เซนต์
ปรับปรุงขึ้นมาโดยมหาลัยเกษตรศาสต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น