วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติของโคเนื้อกำแพงแสน



พันธุ์โคเนื้อ-โคพันธุ์กำแพงแสน
วัวพันธุ์กำแพงแสนเป็นวัวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้เกิดความต้านทานโรคและแมลงและเป็นที่นิยมของคนเลี้ยง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพ.ศ.2506  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา และอาจารย์ประเสริฐ   เจิมพร ได้สั่งน้ำเชื้อแข็งโคเนื้อพันธุ์เฮอร์ฟอร์ดเข้ามาทดลองผสมกับโคไทยและกับโคไทยเลือดผสมเรดซินดิ ที่สถานีฝึกนิสิตทับกวางปรากฎว่า ลูกครึ่งที่ได้จากการทดลองโตเร็วขึ้นและไม่มีปัญหาในการเลี้ยงดู แต่สีสรรค์ของลูกผสมออกจะเลอะเทอะสักหน่อย ต่อมาในปี 2512 เมื่อมีการย้ายโคจากสถานีทับกวางมากำแพงแสน จึงได้ใช้น้ำเชื้อพันธุ์ชาโรเลส์เพิ่มขึ้นอีกพันธุ์หนึ่ง พบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*ชาโรเลส์ เติบโตดีและเลี้ยงง่ายอีกทั้งสีสรรมีความสม่ำเสมอกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง*เฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำการผสมยกระดับเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็น 75% ปรากฏว่าแทนที่จะดีขึ้นกลับพบว่าโคทีมีเลือดเมืองหนาว 75% เลี้ยงยากมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ(ในสภาพปล่อยทุ่ง)  ต่อมา ได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโค 3 สายเลือดคือนำพันธุ์บราห์มันเข้ามาร่วมกับโคไทย  และชาโรเลส์  ทำให้ได้ลูกผสมที่ได้มีสีสม่ำเสมอ เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในระยะแรกๆ(2525-2530)ทำการผสมเป็น 2 แนวทางคือทำให้มีเลือดโคไทย  25%   บราห์มัน  25%   และชาโรเลส์  50%  เรียกว่า กำแพงแสน 1 และทำให้มีเลือดโคไทย  12.5%   บราห์มัน  25%   และชาโรเลส์  62.5%  เรียกว่า กำแพงแสน  2 แต่ภายหลังพบว่า กำแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่าในสภาพปล่อยทุ่ง จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ เหลือเฉพาะกำแพงแสน1 และเรียกว่าพันธุ์กำแพงแสน ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อจดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ.2534 นับเป็นโคพันธุ์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
 สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า กำแพงแสน”  เพราะการตั้งชื่อพันธุ์โคโดยทั่วไป  นิยมใช้ชื่อถิ่นกำเนิดของโคนั้น    เป็นชื่อพันธุ์  เช่น  พันธุ์อเบอร์ดีน-แองกัส  เป็นโคที่กำเนิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างเมืองอเบอร์ดีนกับเมืองแองกัส  ในประเทศอังกฤษ  พันธุ์ซิมเมนทอลเกิดที่หุบเขาซิมเมน  ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เป็นต้น  ส่วนโคเนื้อพันธุ์แรกที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในประเทศไทย  กำเนิดขึ้นที่อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  จึงให้ชื่อว่า  “พันธุ์กำแพงแสน
 สาเหตุที่สร้างโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน
การสร้างโคพันธุ์  “กำแพงแสน”  เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย  คุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้  คือความสมบูรณ์พันธุ์  ได้แก่  เป็นสัดเร็ว  ผสมติดง่าย  ทั้ง ๆ ที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นักก็ยังให้ลูกทุกปี แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้  ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก  และโตช้า  จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกมีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า  โคอินเดีย  (บราห์มันและฮินดูบราซิล)  มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์  การยกระดับเลือดโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น  ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์  โคจะไม่ยอมเป็นสัด  นอกจากนี้คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว  ดังนั้นทางโครงการจึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 % เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดบราห์มันไว้เพียง 25 % เพื่อให้โครงร่างใหญ่ขึ้นโดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ยังไม่เกิดปัญหา แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์ มาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญเติบโต  แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนบ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของโคพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 %
            โดยสรุปคือ  การสร้างโคพันธุ์  “กำแพงแสนก็เพื่อให้ได้พันธุ์โคที่มีคุณสมบัติเป็นโคเนื้อที่ดีครบถ้วนสำหรับเลี้ยงในสภาพทั่วไปของประเทศไทย  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่  (โคพื้นเมือง)  เป็นพันธุ์พื้นฐาน
ในการสร้างและพัฒนาโคพันธุ์ต่าง    ที่มีอยู่ในโลกนั้น  ในระยะแรก    คุณลักษณะของโคพันธุ์นั้น    อาจจะยังไม่ดีนัก  แต่ได้มีการตั้งคุณลักษณะของโคในอุดมคติที่ต้องการไว้  แล้วพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้โคที่มีคุณลักษณะตรงตามที่ตั้งไว้ โคที่สมาคมจะจดทะเบียนรับรองพันธุ์ให้ก็ต้องมีลักษณะตรงกับลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้ ในการคัดเลือกโคไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์และในการประกวดโคก็จะอิงลักษณะและคุณสมบัติที่ตั้งไว้นี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน  ลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้เรียกกันตามหลักสากลว่า  มาตรฐานความเป็นเลิศ  (Standard  of  Exellence)  สำหรับมาตรฐานความเป็นเลิศของโคพันธุ์กำแพงแสน ได้มีการกำหนดและปรับปรุงครั้งสุดท้ายในที่ประชุมกรรมการบริหารสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โคพันธุ์กำแพงแสน 
โคพันธุ์เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อโคพื้นเมืองของไทย ที่มีคุณสมบัติที่ดีเลิศในเรื่องความสมบูรณ์ คือ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ได้ลูกทุกปี ทั้งๆที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นัก แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองของไทยไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป้นโคขุนในระบบธุรกิจได้ เพราะมีขนาดลำตัวเล็กและโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมือง โดยนำโคบราห์มันเข้ามาผสมเพื่อให้ได้ลูกโคที่มีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้น แต่มีการทราบกันดีอยู่แล้วว่าโคบราห์มัน มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณพันธุ์ การยกระดับโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดอยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของโคบราห์มันก็ด้อยกว่าดคเมืองหนาว การผสมโคกำแพงแสนจึงมีเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 เปอร์เซนต์เพื่อให้ได้โครงสร้างใหญ่ขึ้นแล้ว จึงมีการคิดนำเอาโคชาโรเลส์เข้ามาช่วยในเรื่องการให้เนื้อและการเจริญเติบโต โดยกำจัดเลือดของพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 เปอร์เซนต์
โคพันธุ์กำแพงแสน มีเลือดผสมพื้นเมือง 25 เปอร์เซนต์ บราห์มัน 25 เปอร์เซนต ชาโลเลส์ 50 เปอร์เซนต์ ปรับปรุงขึ้นมาโดยมหาลัยเกษตรศาสต


คลิปวีดีโอเกี่ยวโคเนื้อกำแพงแสน





วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีการผสมพันธุ์

 เมื่อคลอดแล้วปกติแม่โคจะกลับเป็นสัดอีกภายใน 30 - 50 วัน แต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40 วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัว แม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง

      ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นสัดของโคเฉลี่ย 21 วัน แต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18 - 24 วัน อีก 5% เป็นสัดก่อน 18 วัน และ 11% เป็นหลัง 24 วัน การเก็บประวัติการเป็นสัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม


วิธีการผสมพันธุ์

      การผสมพันธุ์โค มีอยู่ 3 วิธี คือ 
1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง
     
          เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมเอง แต่มีข้อเสียคือ ถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไข โดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้า แล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก ในพ่อโคอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 - 30 แม่/พ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 - 25 ตัว/พ่อโค 1 ตัว
          
          ในทุกๆ วันที่ปล่อยแม่โคออกไปในทุ่งหญ้า ควรขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งหญ้าและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้าด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อน การขังพ่อโคไว้ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น

2. การจูงผสม

          เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหาก เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หากมีการเลี้ยงดูที่ดี
       
          เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 - 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูงอาจะไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัว สามารถใช้คุมฝูงได้ 25 - 50 ตัว ดังที่กล่าวมา หากอยู่นอกเขตบริการผสมเทียม จึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการให้การผสมบ้าง เพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์
ุ์
          แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ (หรือโรคบรูเซลโลซีส) ดังนั้น พ่อโคและแม่โคของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รบัการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะแพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย

3. การผสมเทียม
   
          เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก (cervic) เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อในมดลูกของแม่โค การผสมเทียมมีข้อดี คือ







 การผสมเทียมมีข้อดี คือ

1)
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อและเลี้ยงโคพ่อพันธุ์

2)
ในกรณีฟาร์มปรับปรุงพันธุ์ที่ต้องใช้พ่อพันธุ์คุมฝูงละตัว ต้องแบ่งแปลงหญ้าตามจำนวนฝูงดังกล่าว แต่ถ้าใช้ผสมเทียม ไม่จำเป็นต้องแบ่งแปลงมากขนาดนั้น

3)
สามารถเก็บสถิติในการผสมและรู้กำหนดวันคลอดที่ค่อนข้างแน่นอน

4)
สามารถใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีจากที่ต่างๆ ได้สะดวก ทำให้ความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์เร็วขึ้น

5)
ถ้าใช้ควบคู่กับฮอร์โมนควบคุมการเป็นสัด จะทำให้การจัดการเกี่ยวกับการผสมสะดวกขึ้น

ข้อเสียของการผสมเทียม คือ

1)
ต้องใช้แรงงานสังเกตการเป็นสัดหรือใช้โคตรวจจับการเป็นสัด

2)
ต้องใช้คอกและอุปกรณ์ในการผสมเทียม เสียเวลาต้อนแยกโคไปผสมในขณะที่มีลูกติดแม่โคอยู่

3)
แปลงเลี้ยงควรใกล้บริเวณผสมเทียม มิฉะนั้นจะเสียเวลาต้อนโคจากแปลงที่ไกล

4)
เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างคนหรือฝึกอบรมคนผสมเทียมของฟาร์มเอง

5)
อัตราการผสมติดขึ้นอยู่กับความสามารถในการตรวจจับการเป็นสัดและความชำนาญของคนผสม

6)
เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเชื้อ






    การผสมเทียมจะต้องนำโคเข้าไปในซองจึงจะผสมเทียมได้สะดวก ซองที่ใช้ผสมเทียมไม่ควรเป็นซองหนีบที่ใช้ฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ตีเบอร์ หรือตัดเขา เพราะโคจะจำประสบการณ์เหล่านี้ได้จึงกลัวที่จะเข้าซอง สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อความสะดวกในการผสมเทียม อย่างน้อยควรจัดทำซองผสมเทียม (ตามภาพ) ไว้ประจำคอกหรือภายในหมู่บ้าน เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำการผสมเทียมควรมีคนคอยช่วยอย่างน้อย 2 คน แม่โคที่ผสมแล้วควรกักไว้ในคอกที่มีร่ม จะทำให้มีโอกาสผสมติดดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แม่โคตากแดดหรือวิ่งไปในแปลงหญ้าหรือท้องทุ่ง เพราะจะทำให้ร่างกายแม่โคมีอุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสผสมติดจะน้อยลง

    แม่โคควรอยู่ในคอกหรือในแปลงที่สะดวกต่อการนำโคมาผสมเทียม แม่โคควรถูกแยกไปผสมเทียมต่อเมื่อแสดงอาการยืนนิ่งเม่อถูกขึ้นทับแล้วเท่านั้น หากปล่อยให้อยู่ในฝูงนานเกินไป จะถูกตัวอื่นขึ้นทับมากอาจทำให้แม่โคบาดเจ็บหรือเหนื่อยอ่อน มีผลทำให้ผสมติดต่ำ หลักการก็คือแยกแม่โคออกจากฝูงอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนผสม

    ในระหว่างผสมควรทำให้แม่โคมีอาการสงบ ไม่ตื่นกลัว การแยกแม่เข้าคอกผสมก่อน 3 ชั่วโมงจะช่วยให้แม่โคสงบ ถ้ามีลูกติดให้ลูกมาอยู่ด้วยจะทำให้แม่โคสงบมาขึ้น การให้โคได้กินหญ้าหรือให้อาหารตามปกติภายในคอกผสมจะช่วยให้แม่โคสงบได้เร็วขึ้น

    หากต้องใช้บริการผสมเทียมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนนอกฟาร์ม ควรใช้หลักเกณฑ์คือ "เห็นการเป็นสัดเช้าให้ผสมในช่วงบ่าย 3-4 โมง เห็นการเป็นสัดบ่ายควรผสมในช่วงเช้า 7-8 โมง และเห็นการเป็นสัดตอนเย็นควรผสมก่อนเที่ยงวัน" แต่หากเห็นการเป็นสัดช่วงประมาณเที่ยงคืนถึงตี 4 ควรผสมในเช้าวันนั้น     ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการผสมติดคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเป็นสัดแต่เวลาที่โคเริ่มเป็นสัดเราอาจะไม่สังเกตเห็น ฟาร์มที่ผสมเทียมเองหรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผสมเทียมได้สะดวกก็สามาถใช้วิธีการตามตารางที่ 2 โดยต้องรู้เวลาระหว่างที่เราสังเกตเห็นแม่โคเป็นสัดกับระยะที่แม่โคยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขึ่ (standing heat) แล้วนำช่วงเวลาดังกล่าวไปหาเวลาที่ควรผสมหลังจากที่เห็นแม่โคยืนนิ่ง

รูปแสดงอาการของการเป็นสัด และระยะเวลาผสมในโค



ตารางเวลาเหมาะสมที่สุดในการผสมเทียม


เร็วไป
ไม่ดีนัก
เวลาที่เหมาะที่สุด
ไม่ดีนัก
ช้าไป
-10       ชั่วโมงที่          6                      12                           18                          24                   30                                    40
ก่อนเป็นสัด(10ชม.)
ระยะเป็นสัด 18 ชม.
หลังเป็นสัด (10 ชม. )
อายุของไข่(12 ชม.)
1) ชอบดมก้นตัวอื่น
2) เริ่มไล่ขึ้นขี่ตัวอื่น
3) อวัยวะเพศเยิ้มเปียก
1) ยืนนิ่งยอมให้ตัวอื่นขึ้นขี่(เริ่มเป้นสัด)
2) ขึ้นขี่ตัวอื่น
3) ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
4) อวัยวะเพศบวมเยิ้มมีสีแดง
5) เมือกข้นใสเริ่มไหลออกจากช่องคลอด
6) ไม่ค่อยกินอาหารน้ำนมจะลดลงจากปกติ 7) มีอาการตื่นตัวตลอดเวลา 8) ม่านตาดำมักขยายกว้าง
1) ไม่ยอมให้ตัวอื่นขึ้นขี่
2) เมือกข้นใสไหลยืดยาว
ออกจากช่องคลอด
ไข่จะตกหลังหมดการเป็นสัด 6-20 ชั่วโมง และจะมีอายุอยู่ได้ 12 ชั่วโมง
หลักการเลี้ยงโค
เวลาที่ควรสังเกตุการเป็นสัด

06.00-07.00 น. นาน 30 นาที
18.00-19.00 น. นาน 30 นาที
23.00-24.00 น. นาน 30 นาท
1) มีใจรักโค
2) มีความรู้เรื่องโค
3) มีการรวมกลุ่ม


   แม่โคที่ผสมติดยากโดยผสมเทียมแล้ว 3 ครั้งไม่ติด ครั้งต่อๆ ไป ควรผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ หากผสมหลายครั้งแล้วไม่ติดควรคัดแม่โคขายทิ้งไปเสีย